ภาษาอินโดนีเซีย
ตระกูล ของภาษาอินโดนีเซียเนี่ย เป็นภาษาตระกูลมาลาโย – ออสโตรนีเซียน
ใช้ระบบการเขียนแบบ อักษรละติน คือ
เป็น A-Z ค่ะ แต่การอ่านคล้ายๆกับเยอรมัน ดัทช์
ฝรั่งเศส สเปน อิตาเลียน
Abjad (พยัญชนะ)
A a = อา B b = เบ
C c = เซ D
d = เด
E e = เอ F f = แอฟ
G g = เก H h = ฮา
I i = อี J
j = เจ
K k = กา L
l = แอล
M m = แอม Nn = แอน
O o = โอ P p = เป
Q q = กี R
r = แอร (ออกเสียง แอร ตรง
ร.เรือ ต้องกระดกลิ้นด้วย ประมาณว่า แอ-เร่อ
)
S s = แอส T
t = เต
U u = อู V
v = เฟ
W w = เว X
x = เอ็กซ์
Y y = เย Z
z = แซด
สระมีทั้งหมด 6 เสียง
Fonem
Vokal (เสียงสระ)
/a/ , /ê/ , /e/
, /i/ , /o/ , /u/
/a/ = อา /ê/
= เอ
/e/ = เออ /i/
= อี
/o/ = โอ /u/
= อู
ตัวอย่าง
1.
Bahasa Indonesia อ่านว่า บา
– ฮา – ซา – อิน-โด -นี – เซีย
2.
Api อ่านว่า อา – ปี (แปลว่า ไฟ)
3.
Enak
อ่านว่า
เอ-นัก (แปลว่า อร่อย)
ประโยคทั่วไปละคำทักทายเบื้องต้น
Halo (ฮาโหล) = สวัสดี
Selamat pagi (เซอลามัต ปากี) = สวัสดีตอนเช้า
Selamat pagi (เซอลามัต ปากี) = สวัสดีตอนเช้า
Selamat siang(เซอลามัตเซียง) = สวัสดีตอนกลางวัน
Selamat malam (เซอลามัตมาลาม) = สวัสดีตอนหัวค่ำ
Selamat tidur (เซอลามัตติดูร์) = ราตรีสวัสดิ์
Saya , Aku (ซายา,อากู)
= ฉัน , ดิฉัน , ผม , กระผม
, ข้าพเจ้า (สองคำนี้ใช้ต่างกันตรงที่ Aku ใช้กับคนที่สนิท ส่วน Saya ใช้แบบทางการและทั่วไป)
Anda, Kamu (อันดา,กามู)
= คุณ (สรรพนามบุรุษที่ 2) ใช้ต่างกับตรงที่ Kamu ใช้กับคนที่สนิท ส่วน anda ใช้แบบทางการและทั่วไป
Apa? (อะปา) = อะไร?
Siapa? (ซิอะปา) = ใคร? หรือ ใช้แทนคำว่า “อะไร” ในกรณีที่ถามชื่อ
Di mana?(ดิมานา) = ที่ไหน?
Kapan,Bila? (กาปัน,บิลา)
= เมื่อไหร่? (When)
Mengapa (เมิงอะปา) = ทำไม? (Why)
Yang mana? (ยางมานา) = อันไหน? (Which)
Bagaimana? (บาไกมานา )= อย่างไร(How)
Berapa? (เบอราปา) = เท่าไหร่
Dapatkah anda? (ดาปัทกาห์ อันดา) = สามารถมั้ย? (Can you?)
Dapatkah anda
bantu saya? (ดาปัทกาห์ อันดา บานตู ซายา)
= คุณสามารถช่วยฉันได้ไหม?
Ya = คำขานรับ (ใช่, ค่ะ , ครับ)
Tidak = ไม่
Bukan = ไม่ใช่
Terima kasih = ขอบคุณ
Kembali = ยินดี (you are welcome)
Silakan (ซีลากัน) = เชิญ
Baik,Oke (ไบอิค,โอเก)=
โอเค ตกลง
Bagus (บากุส) = ดี (good,that fine)
Balangkali (บาลางกาลิ) = น่าจะ
Maaf (มาอาฟ)= ขอโทษ (Sorry)
Permisi (เปอร์มิซี่)= ขอโทษ (Excuse me)
Bagaimana(บาไกมานา) = How
Entah (เอินต๊ะฮ์)= ฉันไม่รู้
Tunggu (ตุงกู) = รอเดี๋ยว
Mari (มารี) = ไปเลย Lat’s go หรือ เชิญชวน
Lihat! (ลีฮัท) =ดูนั่นสิ
Orang (โอราง) = คน บุคคล
ประชาชน
คำศัพท์วัน เดือน ปี และตัวเลข
วัน ในภาษาอินโดคือ Hari = วัน (ฮา-ริ)
วันจันทร์ = Senin [เซอ-นิน] วันอังคาร = Selasa [เซอ – ลา – ซา]
วันพุธ = Rabu [รา – บู] วันพฤหัสบดี = Kamis [กา – มิส]
วันศุกร์ = Jumat [จูม-อัต] วันเสาร์ = Sabtu [ซับ-ตู]
วันอาทิตย์ = Minggu [มิง-กู] สัปดาห์ = Minggu [มิง-กู]
เดือน = Bulan (บู-หลัน)
มกราคม = Januari [จาน-ยู-เอ-รี] กุมภาพันธ์ = Februari [เฟ็บ-บลู-อา-รี่]
มีนาคม = Maret [มา-เร็ต] เมษายน = April [อา-พลิว]
พฤษภาคม =Mei [เม-อี่] มิถุนายน
= Juni
[จู-นี่]
กรกฎาคม = Juli [จู-ลี่] สิงหาคม
= Agustus
[อา-กุส-ตุส]
กันยายน = September [เซ็พ-เท็ม-เบอ] ตุลาคม = Oktober [ออก-โต-เบอร]
พฤศจิกายน = November [โน-เว็ม-เบอร] ธันวาคม = Desember [เดอ-เซ็ม-เบอร]
ปี = Tahun (ตา-ฮุน)
ทศวรรษ = Dasawarsa ดา-ซา-วา-รา
ศตวรรษ = Adad อา-ดั๊ด
สหัสวรรษ = Milenium มิ-เอ-นิ-อุม
วันที่ = Tanggal ตัง-กาล
ตัวเลข
0 = Nol นอล 1
= Satu ซาตู 2 = Dua ดูอา
3 = Tiga ติกา 4
= Empat เอิมปัต 5 = Lima ลิมา
6 = Enam เอินนัม 7
= Tujuh ตูจูห์ 8 = Delapan เดอลาปัน
9 = Sembilan เซ็มบิลัน 10
= Sepuluh เซอปูลูห์
11 = Sebelas เซอเบอลัส 12
= Dua belas ดูอา เบอลัส
……..
12
– 19 = ลงท้ายด้วย Belas
20
– 90 = ลงท้ายด้วย Puluh
100
– 999 = ลงท้ายด้วย Ratus
1000
– 99.999 = ลงท้ายด้วย ribu
9900 = Sembilan
ribu Sembilan ratus
90.000 =
Sembilan puluh ribu (เก้าสิบพัน หรือ เก้าหมื่น)
900.000 =
Sembilan ratus ribu (เก้าร้อยพัน หรือ เก้าแสน)
1.000.000 =
Sejuta เซอจูตา
ไวยากรณ์ภาษาอินโดนีเซียกับโครงสร้างประโยคอย่างง่าย
ประโยค คือถ้อยคำ หรือกลุ่มคำ ที่มีใจความครบถ้วน มีส่วนประกอบของคำหลายๆคำมารวมกัน อย่างเช่นภาษาไทย 1 ประโยค จะประกอบด้วย ประธาน + กิริยา + กรรม เช่นคำว่า
ฉัน(ประธาน) รัก(กิริยา)
เธอ(กรรม) ทำให้รู้ว่า ใคร
ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร
วลี คือ กลุ่มคำ
เป็นการนำคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปมาเรียงต่อกันทำให้เกิดความหมายเพิ่มขึ้น แต่ใจความยังไม่ครบสมบูรณ์เท่ากับประโยค เช่นในภาษาไทยคำว่า บ้านริมน้ำ, กินข้าว,
หน้าร้านอาหาร
นาม คือ คำที่ใช้แทน คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่
กริยาอาการต่างๆ
กริยา คือ คำที่แสดงอาการ สภาพ หรือการกระทำของคำนาม และคำสรรพนามในประโยค เช่นคำว่า กิน เดิน
นั่ง ยืน นอน
เป็นต้น
คำวิเศษณ์ เป็นคำที่ใช้ขยายคำนาม สรรพนาม กริยา หรือวิเศษณ์ เพื่อบอกเวลา สถานที่ จำนวน หรือลักษณะต่าง
คำบุพบท คือ คำที่ใช้เชื่อมกับคำอื่นหรือกลุ่มคำให้สัมพันธ์กัน เช่นคำว่า สำหรับ, จาก,
ที่ เป็นต้น
Kalimat(ประโยค) >> Frase Nomina(นามวลี) + Frase Nomina(นามวลี)
ยกตัวอย่างเช่น
1. Ini Buku. = นี่ คือ
หนังสือ (อินี่-บูกู)
2. Saya
mahasiswa. = ฉันเป็นนักศึกษา (ซายา-มาฮาซิสวา)
3. Dia
mahasiswa. = เขาเป็นนักศึกษา (ดิยา-มาฮาซิสวา)
จากประโยคข้างต้นด้านบน จะเห็นว่า มีการใช้ นามวลี บวกกับ
นามวลี ทำให้เกิดประโยคใหม่ขึ้นมาในภาษาอินโดนีเซีย
โครงสร้างประโยคง่ายๆ คือ
1.
Ini
pensil. = นี่คือดินสอ (อินี่-เพ็นซิล)
2.
Ini
tas. = นี่คือกระเป๋า (อินี่-ตาส)
3.
Ini
sepatu = นี่คือรองเท้า (อินี่-เซปาตู)
4.
Orang
itu dokter. = คน นั้น คือหมอ (โอราง-อิตู-ด็อกเตอร์)
5.
Saya
dokter. = ฉัน คือ หมอ
(ซายา-ด็อกเตอร์)
6.
Dia
guru. = เขาเป็น ครู (ดิยา-กูรู)
Kalimat(ประโยค) >> Frase Nomina(นามวลี) + Fase Nomina(กริยาวลี)
ยกตัวอย่างเช่น
1.
Mereka
duduk. = พวกเขานั่ง (เมอเรกา-ดูดุ๊ก)
2.
Saya
membaca buku. = ฉันอ่านหนังสือ (ซายา-เมิมบาจา-บูกู)
3.
Dia
minum teh. = เขา ดื่ม ชา (ดิยา-มินุม-แทะฮ์)
Kalimat >> Frase Nomina(คำนาม) + Frase Adjektiva(คำวิเศษณ์)
1.
Chujai
pandai. = ชูใจฉลาด (ชูใจ-ปันได)
2.
Jell
cantik. = เจลสวย (เจล-จานติ๊ก)
Kalimat(ประโยค) >> Frase Nomina(นาม) + Frase Preposisional(บุพบท)
ยกตัวอย่างเช่น
1.
Saya
dari Bandung = ฉันมาจากบันดุง (ซายา-ดาริ-บันดุง)
2.
Buku
ini untuk Anda = หนังสือนี้สำหรับคุณ (บูกู-อินี่-อุนตุ๊ก-อันดา)
คำศัพท์แสดงความยินดี อวยพร และคำขอบคุณ
คำอวยพร
1. Selamat atas lahirnya anak
anda [ยินดีด้วยสำหรับการเกิดของลูกของคุณ]
2. Selamat atas keberhasilan anda
[ยินดีด้วยกับความสำเร็จของคุณ]
3. Selamat perkawinan anda [ยินดีกับการแต่งงานของคุณ]
4.
Selamat mendapat tugas baru [ยินดีที่ได้งานใหม่นะ]
5.
Selamat mendapat tugas belajar (mendapat
beasiswa) [ยินดีที่ได้เรียน,ยินดีที่ได้รับทุน]
6. Selamat ulang tahun = Happy
Birthday
7. Selamat tahun baru = [
Happy New year ]
8.
Selamat natal
= [ Marry Christmas]
คำขอบคุณ
1. Terima kasih ขอบคุณครับ/ขอบคุณ
2.
Terima kasih banyak ขอบคุณมาก
ประโยคคำถามในภาษาอินโดนีเซีย ใคร อะไร
ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร เท่าไหร่
1. Siapa nama anda? แปลว่า คุณชื่ออะไร
2. Itu / Ini Siapa? = นั่น/นี่ใครเหรอเธอ?
3.
Siapa
yang mau pergi? = ใครที่จะไปด้วย
4.
Siapa
yang telepon saya? = ใครที่โทรศัพท์หาฉัน
ถ้าจะ ถามว่า “ของใคร = Whose” ก็เติม คำนาม + siapa
1.
Buku
siapa itu? หรือ Itu buku
siapa? = หนังสือนั่นของใคร หรือ นั่นหนังสือของใคร
2.
Rumah
siapa ini? หรือ Ini rumah
siapa? = บ้านหลังนี้ของใคร หรือ นี่บ้านของใคร
ถ้าจะถามว่า เมื่อไหร่ = when ให้เราใช้คำว่า Kapan?
1.
Kapan
kamu datang? = เมื่อไหร่คุณจะมาถึง
2.
Kapan
kamu tidur? = เมื่อไหร่คุณจะนอน
ถ้าจะถามว่า
เท่าไหร่ ก็ใช้ Berapa = How much/How many สำหรับคำว่า Berapa?
ให้ใช้กับตัวเลข
1.
Berapa
orang kuliah di sini? = มีคนเท่าไหร่ เรียนที่นี่
2.
Berapa
hari kita di Jakarta? = กี่วันพวกเราอยู่ที่จาการ์ต้า
3.
Berapa
kali kamu pernah datang ke sini? = กี่ครั้งที่คุณเคยมาที่นี่
4.
Berapa
jam ke Bali? = ไปบาหลีใช้เวลาเท่าไหร่
ถ้าจะถามว่า “ทำไม” ภาษาอินโดนีเซียมีใช้อยู่สองคำ คือ Kenapa? กับ Mengapa?
1.
Kenapa
kamu tidak jawab? = ทำไมคุณไม่ตอบ
2.
Mengapa
mereka tidak pergi? = ทำไมพวกเขาไม่ไป
ถ้าต้องการถามว่า ที่ไหน ก็ถามไปเลยว่า Mana? = Where?
1.
Mana/Di
mana istri kamu? = ภรรยาของคุณอยู่ที่ไหน
Mana bukunya? = 1.
หนังสือนั่นอยู่ที่ไหน (ใช้ nya เป็นการกล่าวถึง)
1 ความคิดเห็น
Nice article, Which you have shared here about the Indonesian language. your article is very informative and useful to know more about the basics of Indonesian language. If anyone interested to Learn Indonesian Language, Visit Indonesian-online
ตอบลบ